วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เครื่องฟักไข่เพียงพอ
 
     สืบเนื่องจากแม่ไก่ไข่ที่นำมาเลี้ยงแบบปล่อยหากินตามธรรมชาติในสวน พากันออกไข่อย่างเดียวแต่ไม่ยอมฟัก ด้วยความอยากรู้ว่าลูกไก่ที่ได้จากพ่อไก่บ้านกับแม่ไก่ไข่นั้นจะมีหน้าตาเป็นเช่นไร จึงลองเป็นแม่ไก่ดูสัก 21 วัน เริ่มจากมองหาสิ่งของที่เหลือใช้หรือยังไม่ได้ใช้ภายในบ้าน รวบรวมมาเป็นเครื่องฟักไข่แบบเพียงพอ


   หลักๆเลย การฟักไข่ก็คือการอุ่นไข่ให้มีอุณหูมิ 37 องศาเซลเซียส ไข่จะเริ่มพัฒนาตัวเองไปเป็นลูกเจี๊ยบจนกระทั้งครบ 21 วันจึงออกจากไข่ ตั้งความร้อน ให้อยู่ที่ 37 ความชื้นอยู่ที่ 55% ทั้งความร้อนและชื้น สูงต่ำกว่านี้ได้เล็กน้อย หากใช้ค่าไหนก็ให้คงค่านั้นๆยาวเลยครับ

   เตรียมกล่องกระดาษหรือกล่องโฟม เพราะสามารถเก็บรักษาอุณหภูมิใว้ได้ดี เจาะช่องให้อากาศดีเข้า ที่มุมด้านล่างของตัวตู้ เนื่องจากตัวอ่อนที่อยู่ในไข่ต้องการอากาศใว้หายใจ ขนาดประมาณ 3 นิ้ว จะเจาะกลมหรือเหลี่ยมก็ได้ สายไฟต่างๆก็อาศัยเข้าออกช่องนี้เหมือนกัน

   เจาะอีกช่อง สำหรับอากาศเสียออก อยู่ตรงข้ามกับช่องอากาศดีและอยู่ช่วงบนของตู้ ตามธรรมชาติอากาศร้อนจะลอยตัวขึ้นสูง แล้วไหลออกทางช่องนี้ ในขณะเดียวกันอากาศดีที่อยู่ช่องต่ำกว่าก็จะไหลเข้ามาแทนที่ ช่องนี้ก็เจาะ 3 นิ้วเท่ากันแต่ไม่ต้องเจาะแบบโบ๋ เหลือให้มีฝาใว้เปิดปิดด้วย สำหรับใว้ช่วยในการเพิ่มลดความชื้นได้เหมือนกัน ตอนที่เริ่มฟัก ตัวอ่อนยังใช้อากาศน้อย เราก็เปิดช่องนี้แค่นิดหน่อยก็พอเพื่อรักษาความชื้นและความร้อนให้คงที่

   ช่องสังเกตุการณ์ จะเอาอะไรทำก็ได้ กระจก พสาสติกใส แล้วแต่จะหาได้ เจาะกล่องให้เท่ากับขนาดกระจกที่เรามี แล้วเอากระดาษแข็งมาตัดแปะกาวเป็นคิ้วกันกระจกหลุดออกมา ทั้งข้างนอกและด้านใน 

   ตะแกรงหรือชั้นสำหรับวางไข่ จะวางไข่ราบแบบวางขนาดกับพื้นก็ได้ แต่เวลากลับไข่ผมกลัวว่าจะไม่ทั่วถึง เท่าที่อ่านในบทความวิชาการเขาบอกให้วางเอียง 45 องศาจะดีกว่า เพื่อสะดวกในการกลับไข่ไม่ต้องกลับทีละฟอง จับเฉพาะถาดหมุนเอาด้านล่างขึ้นบน ด้านบนลงล่างสะดวกดี ไม่มีฟองไหนลืมกลับ ตัวอ่อนที่อยู่ในไข่ ตอนที่ยังไม่โดนความร้อน ไข่ขาวจะเป็นวุ้นห้อหุ้มให้ไข่แดงอยู่ตรงกลางฟองเสมอ ไม่ยอมให้ไข่แดงลอยไปโดนเปลือกไข่ แต่เมื่อไข่เริ่มได้ความความอบอุ่น ไข่ขาวจะค่อยๆเหลวเป็นน้ำ ทำให้ไข่แดงที่อยู่ภายในลอยขึ้น เมื่อลอยไปติดเปลือกไข่ แล้วนิ่งอยู่อย่างนั้นนานๆ ตัวอ่อนที่ถูกไข่แดงเบียดจนติดเปลือกไข่ก็จะตาย เราจึงต้องไปกลับไข่ อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง ส่วนแม่ไก่มันจะขยับไข่วันละ 96 ครั้ง ขยันมากๆเลย

   ทีนี้ก็เอาปลั๊กหลอดไฟเสียบเข้ากับคอนโทรล ส่วนคอนโทรลก็เอาไปเสียบไฟบ้านครับ จัดการเอาไข่ที่เก็บใว้ มาเรียงใส่ ต้องเอาด้านป้านของไข่ขึ้นด้านบน ด้านแหลมลงล่าง ควรวางแบบนี้ตั้งแต่ตอนที่เราเก็บรวบรวมมาแล้ว เติมน้ำใส่ถาดใต้ดวงไฟ นำสายที่วัดความร้อนของคอนโทรลสายสีขาววางใว้บนถาดไข่ เทอร์โมมิเตอร์ควรมีอย่างน้อยสักสองตัว เผื่อตัวใดตัวหนึ่งเสียหรือมั่ว จะได้มีอีกตัวคอยตรวจสอบ

   เริ่มทำตาราง การกลับไข่ อุณหภูมิ และความชื้นตั้งแต่วันแรกถึงวันที่ 18ของการฟัก ให้ตั้งอุณหภูมิ 37-37.5 ความชื้น 55-60% อย่าพลาดเอาค่าไหนก็เอาค่านั้น ให้นิ่งๆ แล้วปิดฝา เวลาแห่งชีวิตเริ่มนับหนึ่งแล้ว เตือนตัวเองว่าอย่าลืมไปกลับไข่ ชีวิตน้อยๆอยู่ในมือท่านแล้ว ตั้งนาฟิกาปลุกไว้กันลืมด้วยครับ

   พอไปครบวันที่ 7 14 และ 18 ของการฟัก ต้องนำไข่มาส่องไฟดู ว่าไข่แต่ละฟองพัฒนาไปถึงไหนแล้ว หากฟองไหนผิดปกติ ให้เอาออกเลย กันเน่า ค่อยๆสังเกตุเอาตามรูป อาทิตย์แรกออกจะงงๆอยู่บ้าง ลองนำไข่ในตู้เย็นมาส่องเปรียบเทียบดูจะเห็นความแตกต่างชัดเจน ไข่ที่ไม่มีเชื้อหรือไม่ได้นำมาฟักมันจะโปร่งแสงกว่า หรือจะเรียกว่าเรืองแสงกว่าไข่ที่มีเชื้อ ถ้าเจอลักษณะแบบ Blood Ring หรือก้อนเลือดที่เป็นวงแหวนในเปลือกไข่ แปลว่าตัวอ่อนภายในตายแล้ว

   ครบวันที่ 18 ของการฟัก นับตั้งแต่วันนี้ไปจนกระทั่งลูกไก่ออกจากไข่ ไม่ต้องกลับไข่แล้วครับ ให้ลดอุณหภูมิลง เหลือ 36-36.5 องศาเซลเซียส ส่วนความชื้นให้เพิ่มเป็น 75-80 % และเปิดช่องอากาศเสียให้กว้าง เนื่องจากลูกไก่สามารถสร้างความร้อนได้เองแล้วและต้องการอากาศหายใจมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะหายใจเอาคาบอนไดอ๊อกไซด์ออกมามากขึ้นอีกด้วย สังเกตุความร้อนของอากาศในตู้ ตัวสีแดงกับความร้อนของไข่ตัวสีดำ ควรจะเป็นแบบนี้ แต่ถ้าความร้อนของอากาศในตู้ตัวสีแดงเป็น 36 แล้วความร้อนของไข่ตัวสีดำต่ำกว่า 35 หล่ะก็  แปลว่าไข่ฟองนั้นไปเฝ้าท่านยมแล้วครับ จนกระทั่งวันที่ 21 ของการฟัก ลูกเจี๊ยบจะทยอยเจาะเปลือกไข่ออกมาดูโลก 

   วันที่ 21 ของการฟัก เวลาตีหนึ่ง ของคืนวันตรุษจีน หูก็แว่วได้ยินเสียงลูกเจี๊ยบร้องเบามาก แต่ผมได้ยิน และหูไม่ฝาดแน่ จัดการปรับเปลี่ยนภายในใหม่เพื่อรอต้อนรับลูกเจี๊ยบน้อยๆ สำรวจดูมีรอยเจาะเล็กๆที่เปลือกไข่ให้เห็นแล้ว นั้งเฝ้าอยู่สองชั่วโมง มันเจาะอยู่แค่นั้น ตีสองแล้วไปนอนต่อดีกว่า ตีสามครึ่ง ได้ยินเสียงลูกเจี๊ยบร้องดังมาก รีบลุกวิ่งไปดู ตัวแรกสีทองกำลังออกจากไข่ นั่งเฝ้าดูอยู่อีกชั่วโมงครึ่งก็เจาะออกมาอีกตัว ส่วนตัวแรกก็ค่อยๆฟูเริ่มน่ารักขึ้นแล้ว ไหลมาเรื่อยๆ จึงไปปลุกลูกๆมาดู นั่งเฝ้ากันหน้าตู้ไม่ยอมไปไหนเลยทั้งพ่อทั้งลูก





       อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบเป็นเครื่องฟักไข่ในครั้งนี้มี กล่องกระดาษขนาดพอเหมาะ หลอดไฟใช้ขนาด 25 วัตต์ ถาดน้ำจากฝากล่องโฟม ตะแกรงฝาลังผลไม้ แผ่นพลาสติกใส ตัววัดความชื้นจากนาฬิกาที่เสียแล้ว เทอร์โมมิเตอร์ และตัวควบคุมอุณหภูมิแบบดิจิตอล 

 
        การฟักไข่เป็ดจะไม่เหมือนกับการฟักไข่ไก่ และปัจจุบันตู้ฟักไข่ที่มีจำหน่ายอยู่ในตลาดส่วนใหญ่ เป็นตู้ฟักไข่ไก่ เมื่อนำมาฟักไข่เป็ดจึงทำให้เปอร์เซ็นต์การฟักออกต่ำกว่าปกติ และบางครั้ง บางฤดู เช่น ฤดูร้อน หรือฤดูฝน การฟักออกจะไม่ดี มีปัญหามาก อัตราการตายในช่วงสุดท้ายของการฟักไข่สูง หรือไม่ก็เรียกอีกอย่างหนึ่งว่ามีตายโคมสูง ทั้งนี้เพราะวิธีฟักไข่เป็ดนั้นมีวิธีที่แตกต่างออกไปจากไก่โดยสิ้นเชิง การฟักไข่เป็ดไม่ว่าจะเป็นเป็ดพันธุ์ไข่หรือเป็ดพันธุ์เนื้อ หรือเป็ดเทศสรวมทั้งห่านด้วย มีหลักการคล้ายกัน โดยเฉพาะความชื้นภายในตู้ฟักไข่ต้องสูง 75% หรืออุณหภูมิตุ้มเปียกสูงกว่า 90 องศาเอฟ โดยเฉพาะในช่วง 4 วันสุดท้ายของการฟักความชื้นสูงกว่า 80% หรืออุณหภูมิตุ้มเปียกสูงกว่า 94 องศาเอฟ ทั้งนี้เพราะว่าเป็ด เป็ดเทศ และห่านเป็นสัตว์ที่ชอบเล่นน้ำ อาบน้ำ บางครั้งแม่เป็ดจะลงไปอาบน้ำแล้วกลับเข้ามาฟักไข่ทั้งๆ ที่ขนยังเปียกไม่แห้ง บางวันแม่เป็ดโดยเฉพาะเป็ดเทศจะออกไปเล่นน้ำ อาบน้ำชำระชน ทำความสะอาดขนและกินอาหารเป็นเวลานาน 1-2 ชั่วโมง โดยเฉพาะเมื่อไข่อายุมากๆ หรือไม่เราจะสังเกตเห็นว่าแม่เป็ดจะใช้ปากของมันเกลี่ยไข่ออกมาผึ่งลมเย็นนอกปีกของมัน เมื่อมันผึ่งไข่ออกนอกปีกเป็นเวลานานพอสมควร 20-30 นาที มันก็ใช้ปากของมันดึงไข่เข้ามาไว้ใต้ลำตัวและปีกอีก จะเห็นแม่เป็ดปฏิบัติอย่างนี้ทุกวันๆ ละหลายครั้ง โดยเฉพาะวันที่มีอากาศร้อนมากๆ ซึ่งต่างไปจากแม่ไก่มักจะนั่งฟักไข่อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ลุกออกไปกินน้ำและอาหารเป็นเวลาหลายๆ วัน จนลูกไก่ฟักออกเป็นตัว ดังนั้นการฟักไข่เป็ด ไข่เป็ดเทศ และไข่ห่าน จึงจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
        1.  การคัดเลือกขนาดและรูปร่างของไข่ฟัก  ไข่เป็ดที่ใช้สำหรับฟักควรจะมีขนาดสม่ำเสมอใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไปทำให้การฟักออกไม่ดี ดังนั้นการเลือกไข่เข้าฟักให้สม่ำเสมอสามารถเพิ่มอัตราการฟักออกได้ถึง 5% ขนาดไข่ที่พอเหมาะจะอยู่ระหว่าง 65-75 กรัม ขึ้นอยู่กับพันธุ์เป็ด นอกจากเลือกขนาดไข่แล้วยังจะต้องเลือกรูปร่างของไข่ด้วย ไข่ฟองใดที่มีรูปร่างกลม หรือแหลมเกินไปก็ไม่เอาพร้อมจะต้องเลือกไข่ที่มีเปลือกไม่ขรุขระ ทั้งนี้เพราะว่าเปลือกไข่ทุกฟองจะมีรูเล็กๆ อยู่โดยรอบ เพื่อเป็นที่ระบายอากาศและหายใจของตัวอ่อนก่อนฟักออกเป็นตัว ดังนั้นการฟักออกจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเปลือกไข่ด้วย พร้อมนี้ไข่ฟักทุกฟองจะไม่มีรอยบุบร้าว หรือแตก เพราะนอกจากจะฟักไข่ไม่ออกเลย แล้วยังจะต้องทำให้อากาศภายในตู้เสีย เนื่องจากไข่เน่าอีกทางหนึ่งด้วย
        2.  การเก็บรักษาไข่ก่อนนำเข้าตู้ฟัก  การฟักไข่เป็ดโดยทั่วไปแล้วมักจะรวบรวมไข่ที่เลือกไว้เป็นเวลา 2-7 วัน แล้วจึงนำเข้าตู้ฟัก บางฟาร์มอาจจะเก็บเข้าตู้ฟักทุกๆ 3 วัน หรือทุกๆ 4 วัน ถ้าไข่ฟักมีน้อยไม่มากเกินไปมักจะนำเข้าตู้ฟักทุกๆ 7 วัน ในฟาร์มที่ฟักทุกๆ 3-4 วัน ส่วนใหญ่จะเป็นฟาร์มที่ฟักลูกเป็ดจำหน่ายจำนวนมากๆ เป็นหมื่นๆ หรือแสนๆ ตัวต่อเดือน ดังนั้นเมื่อต้องการเก็บไข่ไว้นานเกินไป 1 วัน เราจำเป็นจะต้องมีวิธีเก็บรักษาไข่ไว้ให้คงสภาพเช่นเดียวกับไข่ที่ออกมาจากก้นแม่เป็ดใหม่ๆ ส่วนเกษตรกรต้องการนำไข่เข้าฟักทุกๆ วัน ก็ไม่จำเป็นจะต้องนำเข้าห้องเก็บไข่ การเก็บไข่รวมไว้เข้าฟักจะต้องเก็บในห้องเก็บไข่ที่สามารถควบคุมความร้อนความชื้นได้ สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสม ก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการเก็บไข่ด้วย นอกจากความร้อนและความชื้นแล้ว ยังจำเป็นจะต้องมีการกลับไข่ทุกๆ วันๆ ละ 1 ครั้ง การกลับไข่อาจจะใช้วิธีเอียงถาดไข่ทั้งถาดให้ได้มุม 80 องศา หรือใช้มือลูกไข่เบาๆ ให้เคลื่อนที่จากที่ๆ ไข่วางอยู่ให้เปลี่ยนที่เพียงเล็กน้อยก็พอเพียง การกลับไข่จะช่วยให้ตัวอ่อนภายในไม่ลอยขึ้นมาติดเปลือกไข่ และทำให้ตัวอ่อนแข็งแรง ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การฟักออกได้อีกทางหนึ่ง การกลับไข่ทั้งถาดให้เอียง 80 องศานั้น สามารถทำได้โดยใช้ถาดไข่ของตู้ฟักเองวางเป็นชั้นๆ บนโครงเหล็กหรือโครงไม้ที่สามารถให้ถาดใส่ไข่เอียงได้ 80 องศา โดยปกติแล้วเราจะกลับไข่วันละ 1 ครั้ง ก็พอเพียง ต่อไปนี้เป็นอุณหภูมิและความชื้นภายในห้องเก็บไข่ระยะเวลาต่างๆ กัน
                  ตารางที่  2    อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของห้องเก็บไข่ฟักระยะเวลาต่างๆ กัน
ระยะเวลาเก็บไข่(วัน)อุณหภูมิพอเหมาะความชื้นที่เหมาะสม
องศา Cองศา Fองศา Cองศา F
1-320687560
4-713-1655.4-60.87548-53
8-14*11-1251.8-53.680-8846-49
14*11-1251.8-53.680-8846-49
        3.  การรมควันฆ่าเชื้อโรค  ไข่เป็ดที่ได้คัดเลือกไว้สำหรับฟักทุกๆ ฟองจะต้องทำการรมควันเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่เกาะติดอยู่บนเปลือกไข่ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียพวก Salmonella ซึ่งเป็นสาเหตุให้ลูกเป็ดตายก่อนเจาะเปลือกไข่ โดยปกติแล้วเราจะทำการรมควันให้เร็วที่สุดหลังจากเป็ดได้ไข่ออกมาแล้ว ทางด้านปฏิบัติเราก็รมควันก่อนที่จะนำไข่เข้าห้องเก็บไข่ ด้านหลังควันที่ใช้รมฆ่าเชื้อโรคจะเป็นควันที่เกิดจากการผสมด่างทับทิมกับฟอร์มาลิน 40% แสดงไว้ในตารางที่ 2 จุดที่สำคัญอย่างยิ่งอีกประการหนึ่งคือห้ามรมควันไข่ที่ฟักไปแล้ว 24-72 ชั่วโมง และเช่นเดียวกันจะไม่รมควัน สำหรับไข่ที่ลูกเป็ดกำลังเจาะเปลือกไข่ออกหรือลูกเป็ดออกจากเปลือกไข่แล้วอย่างเด็ดขาด
        4.  การฟักไข่ระยะแรก 1-24 วัน การฟักไข่เป็ดโดยใช้ตู้ฟักไข่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่แล้วหรือเกือบทั้งหมดจะฟักโดยใช้ตู้ฟักไข่ที่สร้างขึ้นมาใช้สำหรับฟักไข่ไก่ จึงทำให้เป็นเปอร์เซ็นต์การฟักออกของไข่เป็ดต่ำกว่าที่ควรจะเป็น บางครั้งการฟักออกต่ำกว่ามาตรฐานถึง 30% และจะพบปัญหานี้อยู่เป็นประจำ ทั้งนี้เพราะว่าการฟักไข่เป็ดมีความแตกต่างจากการฟักไข่ไก่ สาเหตุใหญ่ๆ เข้าใจว่าไข่เป็ดต้องการอากาศออกซิเจนมากกว่าและในปริมาณที่แน่นอนกว่าไข่ไก่ และไข่เป็ดเปลือกหนากว่าไข่ไก่ ตลอดจนรูเล็กๆ บนเปลือกไข่เป็นจะรูใหญ่กว่าของไข่ไก่ ซึ่งเข้าใจว่าจะเป็นส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาสำหรับการฟักโดยใช้ตู้ที่ใช้สำหรับฟักไข่ไก่ การฟักไข่ไก่และไข่เป็ดในตู้เดียวกันจะไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเอาเสียเลย
        ปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับฟักไข่เป็ดคือ การควบคุมอุณหภูมิความชื้น การระบายอากาศเสียออกจากตู้ การหมุนเวียนของอากาศออกซิเจน การกลับไข่ และการทำให้ไข่เย็นเป็นระยะๆ ตลอดการฟักไข่ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนี้ถ้าไม่ได้รับการจัดการที่เหมาะสมแล้ว การฟักไข่เป็ดจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
        4.1  อุณหภูมิ อุณหภูมิภายในตู้ฟักไข่นับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งปัจจัยหนึ่งสำหรับการฟักไข่ การตั้งอุณหภูมิผิดจากที่กำหนดในระยะ 1-24 วันแรกของการฟักไข่นั้น จะไม่สามารถแก้ไขให้การฟักออกดีขึ้นได้ การตั้งอุณหภูมิเกินกว่าที่กำหนด 1 องศา C จะทำให้ลูกเป็ดที่ออกมามักมีท้องมานท้องบวมใหญ่และลูกเป็ดจะอ่อนแอโดยทั่วๆ ไปแล้วการสตั้งอุณหภูมิต่ำกว่าที่กำหนดจะมีผลร้ายน้อยกว่าการตั้งอุณหภูมิสูง อุณหภูมิที่เหมาะสมแบ่งออกเป็นระยะต่างๆ 4 ระยะดังตารางที่ 3
    ตารางที่ 3  ความเข้มข้นและระยะเวลาที่ใช้ในการรมควันฆ่าเชื้อโรคบนเปลือกไข่เป็ดที่ใช้สำหรับฟัก
ชนิดที่ใช้รมควันปริมาตรตู้ฟัก/ตู้อบ(กรัม)ด่างทับทิม(กรัม)ฟอร์มาลิน(ซีซี)เวลา
ไข่ที่เก็บไว้ฟัก1006012020
ไข่ที่นำเข้าตู้ฟักวันแรก100408020
ไข่ที่ฟักไปแล้ว 24 วัน100204030
ตู้ฟักไข่ที่ไม่มีไข่1006012030
อุปกรณ์ต่างๆ1006012030
        4.2  ความชื้น ความชื้นเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะต้องเอาใจใส่และควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้เพราะความชื้นเป็นตัวที่กำหนดหรือควบคุมการระเหยของน้ำออกจากไข่ โดยธรรมชาติแล้วน้ำจะระเหยออกจากไข่ทันทีที่ไข่ออกจากก้นแม่เป็ด คุณภาพของไข่เป็ดจึงขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ระเหยออกมากเกินไปจะฟักไม่ค่อยจะออก ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องเอาใจใส่และควบคุมตั้งแต่ระยะเก็บไข่รวบรวมไว้สำหรับฟัก ไปจนถึงขณะที่กำลังฟักอยู่ในตู้ฟักไข่ การระเหยของน้ำออกจากไข่มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคืออุณหภูมิในอากาศ ความชื้นในอากาศและการหมุนเวียนของอากาศรอบๆ เปลือกไข่ ในระยะเก็บไข่เพื่อรอเข้าตู้ฟักพร้อมๆ กัน จะต้องพยายามรักษาน้ำให้ระเหยออกจากเปลือกไข่น้อยที่สุด โดยการควบคุมความร้อนและความชื้นในอากาศของห้องเก็บไข่ ถ้าเก็บไข่ไว้ 7 วัน ควรจะเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 13 องศา C ความชื้น 75% (ตารางที่ 2) ถ้าเก็บไว้ 3-4 วัน อุณหภูมิควรจะเป็น 20 องศา C ความชื้น 75%
        เมื่อไข่อยู่ในตู้ฟักไข่เราก็จะต้องควบคุมความชื้นอย่างใกล้ชิดและเอาใจใส่เป็นพิเศษ ทั้งนี้ เพราะอุณหภูมิของตู้ฟักไข่สูงถึง 99-100 องศา F อุณหภูมิสูงนี้จะทำให้น้ำระเหยออกจากไข่เร็วขึ้น ถ้าความชื้นภายในตู้ต่ำ ดังนั้นจึงต้องปรับความชื้นภายในตู้ให้สูงขึ้นอยู่ระดับ 63%-86% ขึ้นอยู่กับอายุของไข่ฟักระยะต่างๆ ดังตารางที่ 4 การควบคุมความชื้นภายในตู้มีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมขนาดของช่องอากาศภายในให้มีขนาดค่อยๆ กว้างขึ้นจนได้ ขนาด 1 ใน 3 ของไข่เมื่อไข่อายุได้ 27 วัน ถ้าช่องอากาศแคบหรือเล็กเกินไป ตัวอ่อนจะตายและมีน้ำรอบๆ ตัวอ่อนมาก พร้อมนี้ไข่แดงจะไม่ถูกดูดไปใช้จึงเหลืออยู่จำนวนมาก และไข่แดงจะไม่เข้าไปอยู่ในท้องลูกเป็น ถ้าหากช่องว่างอากาศมากเกินไปตัวอ่อนจะแห้งตายและฟักไม่ออกเช่นกัน ดังนั้นการรักษาระดับความชื้นและความร้อนภายในตู้จึงจำเป็นอย่างยิ่ง การเพิ่มความชื้นในทางปฏิบัติเราจะเอาน้ำใส่ถาดขนาดใหญ่และกว้างไว้ใต้ถาดไข่ หรือวางบนพื้นของตู้ฟัก ถ้าหากความชื้นยังไม่พอเพียงเราก็ทำได้โดยการเพิ่มถาดใส่น้ำให้มากขึ้น บางครั้งเราอาจจะต้องวางถาดน้ำถึง 2 ชั้น โดยดัดแปลงถาดใส่ไข่เป็นถาดใส่น้ำ พร้อมกันนี้เราจะต้องปรับช่องอากาศให้เล็กลงอีกด้วย ถึงแม้ว่าความชื้นจะมีผลต่อการฟักออกของไข่เป็ดอย่างยิ่ง แต่ความต้องการของความชื้นภายในตู้ฟักไม่ใช่ว่าจะตรง 100% ตามที่กำหนด แต่ความสูง-ต่ำ ของความชื้นค่อนข้างจะกว้างกว่าอุณหภูมิคือไม่ทำให้มีผลต่อการฟักออกมากนัก ถ้าหากความชื้นผิดไปจากที่กำหนดบ้างเล็กน้อยไม่เหมือนกับความต้องการของอุณหภูมิ ซึ่งผิดไปบ้างเล็กน้อย 0.5-1 องศา F จะมีผลต่อการฟักออกอย่างยิ่ง การที่ความต้องการความชื้นมีช่องห่างระหว่างสูง-ต่ำ ได้พอสมควรนั้น เพราะว่าไข่เป็ดเองมีกลไกที่สามารถควบคุมการระเหยของน้ำได้บางส่วน การควบคุมความชื้นในตู้ฟักจะยิ่งยากมากขึ้นในบางส่วน การควบคุมความชื้นในตู้ฟักจะยิ่งยากมากขึ้นในบางพื้นที่และบางฤดู โดยเฉพาะฤดูที่อากาศมีความร้อนและความชื้นสูง การฟักไข่เป็ดจะต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษและคอยตรวจสอบดูว่าช่องอากาศภายในไข่ได้ขนาดความต้องการหรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็จำเป็นจะต้องมีการปรับความชื้นและช่องระบายอากาศเสียให้เหมาะสมไปพร้อมๆ กัน
                  ตารางที่  4    อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมในตู้ฟักไข่เป็ดโป๊ยฉ่าย
ชนิดตู้ฟักระยะที่อายุไข่อุณหภูมิความชื้น
ตุ้มแห้งตุ้มเปียก
ตู้ฟัก11-4100 องศา F88 องศา F63
ตู้ฟัก25-1299 องศา F90 องศา F 70
ตู้ฟัก313-2799 องศา F91 องศา F75
ตู้ฟัก418-3098 องศา F94 องศา F86
        4.3  การกลับไข่ การกลับไข่โดยธรรมชาติแม่เป็ดจะใช้เท้าและปากเกาะพลิกไข่ให้เคลื่อนที่วันละประมาณ 16 ครั้ง เพื่อให้ตัวอ่อนภายในไข่เคลื่อนที่จากตำแหน่งหนึ่งไปอีกตำแหน่งหนึ่ง ไม่เกาะติดเปลือกไข่จนตาย นอกจากนี้การกลับไข่ยังทำให้ตัวอ่อนใช้อาหารจากไข่แดง ไข่ขาวได้ดียิ่งขึ้น พร้อมกับทำให้มีการแลกเปลี่ยนอากาศเสียที่ตัวอ่อนขับถ่ายออกมากับอากาศภายนอกไข่ได้ดียิ่งขึ้น โดยปกติแล้วตู้ฟักไข่จะออกแบบมาให้มีการกลับไข่โดยอัตโนมัติทุกๆ ชั่วโมง พร้อมกับมีคันโยกเพื่อกลับไข่ด้วยมือได้เมื่อจำเป็นเมื่อเวลาไฟฟ้าดับ การกลับไข่ต้องให้ไข่เอียงได้ 80 องศา ซึ่งต่างไปจากการกลับไข่ไก่ที่ต้องการเพียง 45 องศา และการกลับไข่อย่างน้อยวันละ 5 ครั้ง ถ้าหากกลับไข่น้อยกว่า 5 ครั้ง ภายใน 24 ชั่วโมง จะทำให้การฟักออกต่ำ การกลับบ่อยครั้งไม่มีปัญหาแต่เกินความจำเป็นเสียเวลาและค่าใช้จ่าย
        4.4  การระบายอากาศ การระบายอากาศและการหมุนเวียนของอากาศภายในตู้มีความสำคัญเช่นเดียวกับอุณหภูมิและความชื้น ทั้งนี้เพราะในระหว่างการฟักไข่นั้นตัวอ่อนและลูกเป็ดภายในไข่ จะต้องมีการหายใจและถ่ายเทอากาศเสียออกมาจากไข่ โดยเฉพาะอากาศคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เกิดจากการหายใจของตัวอ่อน ในระยะต้นๆ ของการฟักไข่ที่ตัวอ่อนอายุไม่มากและตัวไม่โต การหายใจถ่ายเทอากาศเสียยังไม่มากนักยังไม่มีปัญหาเท่าไร แต่ว่าเมื่อตัวอ่อนเติบโตขึ้น การหายใจยิ่งมีปัญหามากขึ้นเป็นทวีคูณ โดยเฉพาะช่วงสุดท้ายชองการฟักอายุ 27-30 วัน ตัวอ่อนใกล้จะเจาะเปลือกไข่ยิ่งจะหายใจถ่ายอากาศคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาก และต้องการอากาศออกซิเจนมากจึงต้องเปิดช่องอากาศออก และช่องอากาศเข้าให้กว้างขึ้น แต่จะต้องรักษาความชื้นให้ได้ใกล้เคียงตามที่ต้องการ นอกจากนี้ยังจะต้องพิจารณาด้วยว่าอากาศภายในโรงฟักไข่ก็จะต้องมีการระบายอากาศได้ดีอีกด้วย เพราะว่าการถ่ายเทอากาศเสียภายในตู้ออกมาข้างนอกเป็นการแลกเปลี่ยนอากาศซึ่งกันและกัน ระหว่างข้างนอกและข้างในตู้ ดังนั้นถ้าอากาศนอกตู้ไม่ดีมีคาร์บอนไดออกไซด์มาก อากาศเสียในตู้ฟักก็เหมือนกับไม่ได้ถูกระบายออก เพราะเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างอากาศเสียกับอากาศเสีย
        4.5  การฉีดน้ำบนไข่ฟัก  ในการฟักไข่เป็ดนั้นเราพบว่าการฉีดพ่นน้ำลงไปบนไข่ที่มีอายุตั้งแต่ 14-24 วัน ในไข่เป็นพันธุ์ไข่ธรรมดา และ 14-27 วันในไข่เป็ดโป๊ยฉ่ายจะทำให้การฟักออกสูงขึ้นกว่าไม่ได้พ่นน้ำและนอกจากนี้การฉีดน้ำเย็น และสะอาดบนไข่ทุกๆ วันๆ ละ 1 ครั้ง ยังทำให้ตัวอ่อนพายในไม่มีการเจริญเติบโตและแข็งแรงอีกด้วย เหตุผลที่แท้จริงไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีการรายงานและค้นคว้าจากนักวิชาการหลายๆ ท่านพบว่าการฉีดน้ำหรือเรียกว่าการให้ไข่ฟักเย็นลงเป็นระยะๆ นั้น ทำให้เนื้อเยื่อที่ห่อหุ้มตัวอ่อนเข้ามาสัมผัสกับผิวของเปลือกไข่มากยิ่งขึ้น จึงทำให้ลูกเป็ดหรือตัวอ่อนเจริญเติบโตดีและแข็งแรง พร้อมทั้งมีแรงสำหรับเจาะเปลือกไข่มากยิ่งขึ้น
        อย่างไรก็ดีแม้ว่าการฉีดน้ำเป็นฝอยๆ ลงบนไข่ก็มีข้อเสียอยู่มากเช่นกัน ถ้าหากไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง และคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ การฉีดน้ำทำให้บรรยากาศภายในตู้ฟักไข่เหมาะที่พวกจุลินทรีย์ต่างๆ เจริญเติบโต โดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่ปะปนมากับน้ำ เมื่อพ่นลงไปบนเปลือกไข่แล้วจุลินทรีย์นี้จะเจริญเติบโตและเจาะลึกลงไปในไข่ทำลายตัวอ่อนให้ตายฟักไม่ออกได้ ดังนั้นน้ำที่ใช้พ่นจึงต้องเป็นน้ำที่ผสมยาฆ่าเชื้อหรือด่างทับทิมอยู่ในปริมาณที่แนะนำโดยผู้ผลิต ในด้านปฏิบัติการฉีดน้ำจะทำวันละครั้ง ในช่วงเวลาใดก็ได้ที่เห็นว่าความชื้นในอากาศต่ำกว่าเวลาอื่นๆ ก่อนฉีดเราจะต้องเปิดฝาตู้ฟักออกให้กว้างเต็มที่ปล่อยให้พัดลมตู้ฟักทำงานปกติ แต่ปิดสวิชไม่ให้ลวดร้อนทำงาน เปิดทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง จนไข่ลดอุณหภูมิลงมาเท่ากับอุณหภูมิภายนอกทดสอบได้จากการเอาไข่แตะบนหนังตาของเราจะไม่รู้สึกร้อน ที่จุดนี้เป็นจุดที่จะทำการพ่นน้ำให้เป็นละอองฝอยๆ บนไข่ทุกๆ ถาดจากด้านบนลงมาด้านล่าง ปริมาณน้ำที่ใช้ประมาณ 5-8 ลิตรต่อไข่ 10,000 ฟอง เมื่อฉีดน้ำแล้วจะต้องปล่อยให้ตู้ฟักเดินพัดลมและเปิดประตูไปอีกประมาณ 1 ชั่วโมง จนกว่าน้ำบนเปลือกไข่จะแห้ง และเรานำไข่มาแตะที่หนังตาจะรู้สึกเย็นเลยทีเดียว ที่จุดนี้เราก็ปิดตู้ฟักไข่และเปิดลวดร้อน เดินเครื่องเป็นปกติต่อไปจนถึงวันพรุ่งนี้และวันต่อๆ ไป จนไข่อายุครบ 24 วัน และ 27 วัน สำหรับเป็ดไข่และเป็ดโป๊ยฉ่าย
        ในกรณีที่บางฤดูความชื้นในอากาศสูง หรือวันที่มีฝนตกอากาศชื้นเราก็ไม่จำเป็นจะต้องพ่นหรือฉีดน้ำ เป็นแต่เพียงเปิดตู้ปิดสวิชลวดร้อน และเปิดพัดลมให้เดิน เพื่อให้ไข่เย็นวันละ 1-2 ชั่วโมงก็พอ ข้อแนะนำอีกประการหนึ่ง คือไม่ควรที่จะฉีดหรือพ่นน้ำจนให้โชคหรือมากเกินไป จะทำให้ความชื้นสูงเกินกว่าระดับที่ตัวอ่อนและลูกเป็ดต้องการ และจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
        5.  การฟักไข่ระยะสุดท้าย (28-30 วัน) การฟักไข่เป็ดโป๊ยฉ่ายระยะ 3 วันสุดท้าย จะต้องฟักในตู้อีกตู้หนึ่งต่างหากที่เราเรียกว่า ตู้เกิด ทั้งนี้เพราะว่าการจัดการการฟักไข่ ความต้องการอุณหภูมิ และความชื้นแตกต่างไปจากระยะ 27 วันแรก ระยะนี้ต้องการอุณหภูมิต่ำกว่าระยะแรก 1 องศา F หรือเท่ากับ 98 องศา F ที่ต้องการต่ำเนื่องจากว่าระยะ 3 วันหลังนี้ ตัวอ่อนได้เจริญเติบโตมากและสมบูรณ์พร้อมที่จะเจาะเปลือกไข่ออกมาดูโลกภายนอก ระยะนี้ลูกเป็ดจึงต้องมีการหายใจและเกิดความร้อนขึ้นภายในตัวของมันเองได้ และความชื้นจะยิ่งมากขึ้น เมื่อลูกเป็ดเจาะเปลือกออกมาแล้วยิ่งลูกเป็ดเจาะออกมามากความร้อนยิ่งมากเป็นเงาตามตัว ดังนั้นในบางครั้งความร้อนในตู้เกิดจะสูงเกินกว่าที่ตั้งเอาไว้ทั้งๆ ที่ลวดร้อนหรือฮิ้ทเตอร์ไม่ทำงาน ถ้าหากตู้เกิดไม่สามารถควบคุมความร้อนเกินนี้ได้ จะทำให้ลูกเป็ดฟักออกมีเปอร์เซนต์ลดลงถึง 20% ถ้าหากความร้อนเกิน 1.7 องศา C หรือ 3 องศา F และจะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ถ้าอุณหภูมิสูง 103 องศา F ดังนั้นถ้าตู้เกิดรุ่นใหม่ๆ จะมีอุปกรณ์ที่ช่วยพัดเป่าลมเย็นจากภายในห้องฟักไข่เข้าไปลดความร้อนในตู้เกิดขณะที่อุณหภูมิเกิน พร้อมกันนี้ก็จะเป่าไล่อากาศเสียที่เกิดจากลูกไก่ออกไปจากตู้อีกด้วย ส่วนตู้ที่ไม่มีอุปกรณ์เป่าลมเย็นก็สามารถลดความร้อนในตู้ลงได้ โดยการเปิดช่องอากาศเสียและช่องอากาศดีให้กว้างขึ้นจนได้อุณหภูมิและความชื้นที่ต้องการ
        ความชื้นในระยะ 3 วันสุดท้ายของการฟักไข่เป็ดโป๊ยฉ่าย นับว่าสูงมาก คือต้องการความชื้นสัมพัทธ์ 86% หรือเท่ากับอุณหภูมิของตุ้มเปียก 94 องศา F ความชื้นสูงระดับนี้นับว่าเป็นการยากมากเพื่อจะเพิ่มให้สูงได้ นอกจากว่าเราจะต้องเพิ่มถาดใส่น้ำให้มากขึ้น บางทีถาดใส่น้ำอาจจะต้องใส่ถึง 2-3 ชั้น เพื่อให้ความชื้นได้ระดับ และเมื่อความชื้นได้รับแล้วห้ามเปิดฝาตู้ฟักไข่อย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้ความชื้นลดลงอย่างรวดเร็ว จะทำให้ลูกเป็ดที่กำลังจะออกเป็นตัวแห้งติดเปลือกไข่ตายในที่สุด ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงนิดเดียวก็ไม่ควรปฏิบัติถ้าหากไม่จำเป็นจริงๆ ทั้งนี้เพราะว่าเมื่อความชื้นลดลงแล้วกว่าจะให้ตู้ทำงานให้ได้ความชื้นสูงระดับเดิมนั้น จะต้องใช้เวลานานมากและมากกว่าการเพิ่มอุณหภูมิ
        การฟักไข่ในระยะสุดท้ายนี้ มีข้อแตกต่างจากระยะแรกอีกประการหนึ่งคือ จะไม่มีการกลับไข่ แต่จะปล่อยให้นอนนิ่งอยู่บนถาดไข่เพื่อให้ลูกเป็ดเจาะเปลือกไข่ออกได้สะดวก ทั้งนี้เพราะว่าในช่วงที่ลูกเป็ดพยายามเจาะเปลือก ลูกเป็ดจะดิ้นทำให้ไข่กลิ้งไปมาเพื่อให้ได้มุมที่สามารถทำให้เปลือกไข่แตกออกมาได้ ฉะนั้นในการใส่ไข่ในถาดก็ไม่ควรให้ไข่แน่นจนเกินไป ควรมีช่องว่างให้ห่างเล็กน้อย
        เนื่องจากการฟักไข่ระยะหลัง 3 วันสุดท้าย มีความแตกต่างจากการฟักไข่ในช่วงแรกอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นจึงใคร่แนะนำให้มีการแยกตู้ฟักกันคนละตู้ หรืออยู่ในตู้เดียวกันแต่กั้นห้องแยกจากกันจะให้ผลดีที่สุด
 

วิธีการฟักไข่เป็ดเทศ


          เป็ดเทศเป็นสัตว์ปีกที่สามารถฟักไข่ได้ด้วยตัวของมันเอง ซึ่งจะฟักได้ดี 80-90% แต่เมื่อนำไข่เป็ดมาฟักด้วยตู้ฟักไข่ การฟักออกของไข่เป็ดเทศไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งเมื่อตอนเริ่มฟักไข่เป็ดเทศซึ่งมีเปลือกหนาและเยื่อหุ้มไข่ที่เหนียว การฟักออกนั้นต่ำมาก เพราะตู้ที่ฟักเป็นตู้ฟักไข่ไก่ และวิธีการฟักไข่เป็ดแตกต่างจากไข่ไก่ จึงเกิดปัญหาตายโคมมาก ในการฟักไข่เป็ดเทศมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

1. การคัดเลือกขนาดและรูปร่างของไข่เป็ดเทศเข้าฟัก
          ขนาดไข่สม่ำเสมอ ไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป มีน้ำหนักระหว่าง 65-75 กรัม รูปร่างไข่ไม่ควรกลมหรือแหลมเกินไป เปลือกไข่ควรเรียบไม่ขรุขระ ไม่มีรอยบุบ ร้าว หรือแตก

2. การเก็บรักษาไข่ก่อนนำเข้าตู้ฟัก
          ตามปกติแล้วจะเก็บไข่เป็ดเข้าตู้ฟักทุก 7 วัน ในกรณีที่ไข่เป็ดไม่มาก แต่ถ้ามีมาก จะเก็บเข้าทุกๆ 3-4 วัน ในการเก็บไข่เพื่อรอนำเข้าตู้ฟัก ควรเก็บในห้องเย็น อุณหภูมิ 50-65 องศาฟาเรนไฮด์ และมีความชื้น 75% ควรกลับไข่อย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง

3. การทำความสะอาดเปลือกไข่เป็ดเทศ
          ควรทำความสะอาดไข่ทันทีที่เก็บจากคอก ให้ใช้กระดาษทรายหยาบขัดออก ไม่ว่าจะเป็นมูลหรือสิ่งสกปรกอื่น อย่าล้างน้ำจะทำให้เชื้อโรคซึมแทรกเข้าไปตามรูพรุน เข้าสู่ฟองไข่และทำอันตรายต่อไข่ภายในได้ และขณะทำความสะอาดไข่ควรตรวจดูเปลือกไข่ที่บุบและร้าวด้วย เพื่อคัดออกเสียแต่แรก

4. การรมควันฆ่าเชื้อโรค
          หลังจากทำความสะอาดเปลือกไข่แล้ว นำมารมควันเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่เกาะติดอยู่บนเปลือกไข่ โดยเฉพาะเชื้อ Salmonella ซึ่งเป็นสาเหตุให้ลูกเป็ดตายก่อนเจาะเปลือกไข่ โดยรมควันไข่เป็ดที่เก็บมากจากคอกก่อนนำไข่เข้าห้องเก็บไข่ ใช้ด่างทับทิม 20 กรัม ฟอร์มาลีน 40% จำนวน 40 ซีซี ต่อพื้นที่ 100 ลูกบาศก์ฟุต
          วิธีทำคือ ชั่งด่างทับทิมแล้วใส่ในชามสังกะสีเคลือบแล้วใส่ในตู้อบ เทฟอร์มาลีนลงในอ่างเคลือบแล้วรีบปิดประตูทันที ระวังอย่าดมควันฟอร์มาลีน เพราะจะทำให้เยื่อจมูก และตาอักเสบได้ ทิ้งไว้ 15-20 นาที แล้วจึงนำไข่เข้าเก็บในห้องเก็บไข่ ข้อสำคัญคือ ห้ามรมควันไข่ที่ฟักไปแล้ว 24-72 ชม. แลไม่รมควันไข่ที่ลูกเป็ดกำลังเจาะเปลือกไข่ออก

5. การฟักไข่เป็ดเทศระยะ 1-10 วันของการฟัก
          ไข่ที่ได้รับการเก็บไว้ในอุณหภูมิ 50-60 องศาฟาเรนไฮด์เป็นเวลา 7 วัน แล้วนำเข้าตู้ฟักไข่ ในช่วงนี้อาจรมควันฆ่าเชื้ออีกครั้งหนึ่งได้ แต่ระวังอย่ารมควันไข่ที่เพิ่งเข้าตู้ฟักได้ไม่เกิน 24-72 ชม. ในช่วง 1-10 วันที่เข้าตู้ฟักอุณหภูมิ 100 องศาฟาเรนไฮด์ อุณหภูมิปรอทตุ้มเปียก 86 องศาฟาเรนไฮด์ กลับไข่อย่างน้อยวันละ 6 ครั้ง

6. การกลับไข่
          การฟักไข่เป็เทศโดยใช้เครื่องฟักไข่ไก่ ต้องปรับปรุงวิธีการวางไข่ในถาดฟักใหม่ ให้ไข่เป็ดนอนราบกับพื้นถาดโดยไม่มีลวดกั้น วางไข่ลงในถาดเต็มถาดเหลือช่องว่างไว้ประมาณวางไข่เป็ดได้ 2 ฟอง เพื่อให้ไข่กลิ้งได้เวลาเอียงถาดไข่ การกลับไข่ด้วยเครื่องฟักไข่อัตโนมัติก็โดยการตั้งเครื่องกลับไข่ให้ถาดไข่เอียงประมาณ 10-15 องศา ไข่เป็ดจะกลิ้งไปในระยะทางเท่ากับไข่ 2 ฟอง ที่เหลือช่องว่างเอาไว้ระหว่างไข่ในถาดกับขอบของถาดไข่ ถ้าเป็นเครื่องฟักธรรมดา ก็ใช้มือสวมถุงมือที่สะอาดๆ ลูบไปบนไข่ในถาดให้ไข่กลิ้ง หรือเคลื่อนที่ออกจากเดิมก็ได้ หรือจะทำคันโยกให้ถาดเอียงตามองศาดังกล่าว ถ้าไข่กลิ้งชนกัน ก็ให้ลดความเอียงลง

7. การฟักไข่เป็ดในระยะที่ 2 วันที่ 11-31 ของการฟัก
          ในวันที่ 11 ของการฟักจะนำออกจากตู้ฟักมาส่องไข่ แยกไข่เชื้อตายออก แล้วนำไข่มีเชื้อเข้าตู้หนึ่ง ซึ่งเป็นตู้ฟักทีระบบให้ความร้อนและระบบพัดลมแยกออาจากกัน เพราะในช่วงวันที่ 11-31 ของการฟักไข่จะเปิดระบบให้ความร้อนเป็นเวลาแต่จะเปิดพัดลมตลอดเวลา ซึ่งจะเปิดประตูตู้ฟักไข่ไว้ตั้งแต่ 09.00-11.00 น. จึงปิดประตูตู้ฟักไข่แล้วเปิดระบบให้ความร้อนทำงาน, ในช่วงที่เปิดประตูตู้ฟักไข่ทิ้งไว้ เมื่อถึงเวลา 10.00 น. คือ ครบ 1 ชั่วโมง แล้วจะทำการพ่นน้ำที่ไข่เป็ดเทศทุกฟองให้เปียกแล้วทิ้งไว้อีก 1 ชม. จึงปิดตู้ฟักแล้วเปิดระบบให้ความร้อน ทำเช่นนี้ทุกวันจนถึงวันที่ 31 ของการฟัก อุณหภูมิของตู้ฟักไข่ 100 องศาฟาเรนไฮด์ อุณหภูมิตุ้มเปียก 90-92 องศาฟาเรนไฮด์
          การกลับไข่ควรกลับอย่างน้อยวันละ 6 ครั้ง จะทำให้เชื้อแข็งแรง ฟักออกดีขึ้น ถ้าตู้ฟักที่ควบคุมความร้อนไม่ได้พ่นน้ำที่ไข่วันละ 2 ครั้ง ช่วงบ่ายโมงและสี่โมงครึ่ง น้ำที่ใช้พ่นควรมีอุณหภูมิเท่าตู้ฟักและเป็นน้ำสะอาดโดยผสมน้ำยาฆ่าเชื้อลงไปก็จะทำให้ไข่เป็ดมีเชื้อตายที่ 32 วัน น้อยลง

8. การฟักไข่เป็ดเทศในระยะที่ 3 วันที่ 32-35 ของการฟัก
          วันที่ 32 จะนำไข่ออกจากตู้ฟักเพื่อนำมาส่องไข่ที่มีเชื้อแข็งแรงนำเข้าตู้เกิดไข่ ไข่เชื้อตายก็นำออกไป การนำไข่มีเชื้อเข้าตู้เกิดจะใส่ถาดโดยวางไข่ในแนวนอน จะไม่มีการกลับไข่หรือพ่นน้ำแต่อย่างใด ใช้อุณหภูมิ 98-99 องศาฟาเรนไฮด์ อุณหภูมิตุ้มเปียก 94 องศาฟาเรนไฮด์ ความชื้นสัมพัทธ์ 86% ไข่เป็ดที่จะฟักออกได้ดีควรมีช่องอากาศภายในไข่ เท่ากับ 1 ใน 3 ของไข่ ลูกเป็ดบางตัวอาจเจาะออกเป็นตัวเมื่ออายุ 33 วัน จึงควรเก็บไข่ฟักให้ถึง 35 วัน และตู้เกิดควรแยกออกจากตู้ฟักไม่ควรใช้ตู้เดียวกัน เพราะถ้าควบคุมอุณหภูมิและความชื้นไม่ดี จะทำให้เกิดน้อยลงและที่สำคัญคือ ไม่แข็งแรงและทำให้อัตราการตายสูง เมื่อนำไปเลี้ยงในช่วงอาทิตย์แรก

การเก็บรักษาไข่ให้อยู่ได้นาน ๆ


การเก็บรักษาไข่ให้อยู่ได้นาน ๆ (woman story)

           เชื่อว่าหลายบ้านที่มักจะซื้อไข่มาเก็บไว้ แล้วก็คงอยากให้ไข่นั้น สดใหม่เสมอ วันนี้เราเลยขอเอาใจแม่บ้านทั้งหลายด้วยวิธีการเก็บรักษาไข่ให้อยู่ได้นาน ๆ

           ไข่ที่สด สังเกตง่าย ๆ คือ ผิวจะมีนวลเคลือบอยู่ เมื่อจับผิวจะสาก ๆ และถ้าลองตอกออกดู ไข่แดงจะนูน ขณะที่ไข่ขาวจะเป็นลิ่ม ๆ และหากไข่ไม่สดผิวจะค่อนข้างมันลื่น เมื่อตอกออกดู ไข่แดงจะแบนราบ ถ้าใกล้เสีย ไข่แดงจะเละ และจะมารวมกับไข่ขาว

           วิธีเก็บรักษาไข่ที่ซื้อมาให้อยู่นาน ๆ ทำได้โดย เมื่อซื้อไข่มาแล้ว ห้ามล้าง เพราะจะทำให้นวลที่เคลือบอยู่ ถูกล้างออกหมด เหลือแต่เปลือกไข่ที่มีรูพรุน ทำให้เชื้อโรคสามารถซึมผ่านทางรูพรุนนี้ เข้าไปภายในไข่ ทำให้ไข่เสียเร็วขึ้น และควรเก็บไข่ในช่องเก็บไข่ในตู้เย็น โดยให้ด้านป้านอยู่ด้านบน เพราะด้านป้านจะมีฟองอากาศอยู่ภายใน พอพลิกขึ้นด้านบน จะทำให้ไข่แดงไม่แตกเร็ว ทำให้ไข่อยู่ได้นานขึ้น

           ใครอยากมีไข่สด ๆ ไว้ทานกันนาน ๆ ก็ลองนำวิธีที่เรานำมาแนะนำไปใช้กันนะคะ
การเลี้ยงลูกเป็ด อายุ 3-8 สัปดาห์

          ลูกเป็ดอายุครบ 2 สัปดาห์ ความต้องการทางด้านกกเพื่อให้ความอบอุ่นจะลดลงหรือไม่ต้องการเลย เพราะลูกเป็ดมีขนขึ้นเต็มตัว และกินอาหารได้ดีจนสามารถสร้างความอบอุ่นขึ้นได้เองอย่างเพียงพอ ลูกเป็ดอายุ 3-8 สัปดาห์จะมีการเจริญเติบโตสูง ดังนั้น จึงควรเอาใจใส่ด้านอาหาร การให้อาหารและส่วนประกอบของอาหารที่ถูกต้อง จำนวนอาหารที่ให้เป็ดกินและการจัดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม

            1. การจัดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม อาจเลี้ยงอยู่ในโรงเรือนมีหลังคาและกั้นห้องให้อยู่รวมกันเป็นห้องๆ หรืออาจจะเลี้ยงปล่อยทุ่งไล่ต้อนกลับคอกในเวลาเย็นๆ หรืออาจจะเลี้ยงในโรงเลี้ยงเป็ดที่มีลานดินยื่นออกมานอกโรงเรือนให้ลูกเป็ด เล่นและพักผ่อนในเวลากลางวัน ส่วนกลางคืนในขังไว้ในโรงเรือน ข้อสำคัญคือ อย่าขังเป็ดรวมกันให้แน่นเกินไป เพราะเป็ดจะจิกกัน โดยเฉพาะถ้าให้อาหารไม่เพียงพอ หรืออาหารมีส่วนประกอบไม่ได้สัดส่วน ลูกเป็ดจะยิ่งจิกขนและกินขนกันมากขึ้น ข้อแนะนำคือ ให้ลูกเป็ดอยู่ระหว่าง 5-6 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร มีน้ำสะอาดให้กินเพียงพอ
            2. การให้อาหาร ระยะนี้ลูกเป็ดมีการเจริญเติบโตสูง อาหารที่ใช้จึงควรเป็นอาหารที่มีคุณภาพสูง โดยปกติแล้วจะให้อาหารลูกเป็ดวันละ 2 ครั้ง คือเช้า 7-8 โมง และบ่าย 2-3 โมง อาหารที่ให้เป็นอาหารชนิดผงคลุกน้ำให้ชื้นพอหมาดๆ ไม่ถึงกับเปียกแฉะ ซึ่งจะทำให้ลูกเป็ดกินได้ง่าย และไม่ตกหล่นมาก อาหารที่คลุกน้ำแล้วจะถูกเทใส่ในรางไม้หรือถังใส่อาหารสัตว์ชนิดแขวน ขนาดบรรจุ 4-5 ก.ก. บางแห่งอาจทำง่ายๆ คือกองอาหารที่ผสมเสร็จแล้วลงบนกระสอบหรือภาชนะแบนๆ วางอยู่กลางคอก และไกลจากน้ำดื่ม 5-6 เมตร เป็ด 100 ตัว ต้องการรางอาหารที่กินได้ 2 ข้างราง จำนวน 3 รางๆ ละ 1 เมตร ต้องการขวดน้ำขนาด 8 ลิตร จำนวน 3 ขวด พร้อมกันนี้จะต้องสุ่มลูกเป็ดมาชั่งทุกๆ สัปดาห์ โดยสุ่มชั่ง 100% ของเป็ดทั้งหมด แล้วเปรียบเทียบน้ำหนักมาตรฐานในตารางที่ 3 ถ้าหากเป็ดผอมเกินไปก็ควรจะเพิ่มอาหารให้มากขึ้น หรือถ้าหากอ้วนเกินไปก็ลดอาหารลงให้พอเหมาะ


การเลี้ยงลูกเป็ดระยะเจริญเติบโตอายุ 3-8 สัปดาห์
ปล่อยแปลงและสระน้ำในเวลากลางวัน


โรงเรือนสำหรับเลี้ยงเป็ด

ตารางที่ 3 แสดงน้ำหนักเฉลี่ยของลูกเป็ดพันธุ์กบินทร์บุรีและปากน้ำ เพศเมียและปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละสัปดาห์

อายุ
(สัปดาห์)
น้ำหนักตัว
(กรัม/ตัว)
ปริมาณอาหารที่ให้
(กรัม/ตัว/สัปดาห์)
(กรัม/ตัว/วัน)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
46
80
194
340
612
674
844
938
1,013
1,088
1,163
1,239
1,245
1,250
1,255
1,260
1,335
1,410
1,485
1,561
1,502
15
29
56
74
94
95
100
103
250
250
290
290
300
300
320
320
400
450
500
550
600
2.14
4.14
8.00
10.57
13.43
13.57
14.28
14.71
35.71
35.71
41.43
41.43
42.86
42.86
45.71
45.71
57.14
64.28
71.43
78.57
85.71

การเลี้ยงเป็ดบาบารี่ วิธีเลี้ยงเป็ดบาบารี่ให้โตเร็วต้องทำไง





การเลี้ยงเป็ดบาบารี่ วิธีเลี้ยงเป็ดบาบารี่ให้โตเร็วต้องทำไง
เป็ดบาบารี่ คือเป็นพันธุ์เนื้อ ที่นิยมนำมาประกอบอาหารกัน แหล่งจำหน่ายพันธุ์เป็ด
กรมปศุสัตว์, ฟาร์มเอกชน และตลาดทั่วไป
วิธีดำเนินการ 
การเลี้ยงเป็ดเทศ แบ่งเป็น
ตั้งแต่แรกเกิด-อายุ 3 สัปดาห์
การ ฟักไข่จะใช้เวลาประมาณ 28-35 วัน เมื่อลูกเป็ดเทศเกิด นำไปเลี้ยงในเล้า ซึ่งมีผ้าหรือกระสอบป่านตัดเย็บล้อมรอบเล้า เพื่อป้องกันลมโกรกถูกตัวลูกเป็ด พื้นเล้าควรปูด้วยแกลบหรือวัสดุที่สะอาด หนาประมาณ 2-3 นิ้ว จัดวางหลอดไฟให้ความอบอุ่น เตรียมรางใส่อาหาร รางใส่น้ำไว้ในเล้า ให้อาหารเป็ดวันละ 4-5 ครั้ง อุณหภูมิที่เหมาะสมในการกกลูกเป็ด ควรสังเกตจากปฏิกิริยาของลูกเป็ดด้วย ถ้ามีลูกเป็ดนอนสุมทับกันและมีเสียงร้อง แสดงว่าอุณหภูมิต่ำเกินไป ต้องเพิ่มความอบอุ่นให้ ถ้าลูกเป็ดกระจายอยู่และยืนอ้าปากหอบกางปีก แสดงว่าร้อนเกินไป ต้องลดอุณหภูมิลง ถ้าอุณหภูมิพอเหมาะ ลูกเป็ดจะนอนราบกับพื้นกระจายอยู่ทั่วไป การกกลูกเป็ดควรกกประมาณ 3 สัปดาห์
อายุ 4-12 สัปดาห์
โรงเรือนสำหรับเลี้ยงเป็ด ควรแห้งสะอาด ไม่มีน้ำขัง ป้องกันแดดและฝนได้ดี รางอาหารควรวางห่างจากรางน้ำ มีผัก หญ้าสด หรือผักตบชวา ให้เป็ดกิน อาหารควรมีโปรตีนประมาณ 16% ถ้าเลี้ยงเป็ดเทศเพื่อจำหน่ายควรจำหน่ายอายุ 10-12 สัปดาห์
อายุประมาณ 13-24 สัปดาห์
ช่วง นี้เป็ดจะกินอาหารมากขึ้น การเจริญเติบโตน้อย จึงเลี้ยงด้วยอาหารให้เพียงพอสำหรับรักษาขนาดและน้ำหนักของเป็ดให้เพิ่มขึ้น เล็กน้อย อาหารที่ให้ช่วงนี้ ควรมีโปรตีนประมาณ 14%
การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์
เป็ด ที่จะเริ่มไข่เมื่ออายุ 28 สัปดาห์ วันหนึ่งควรให้อาหาร 2 ครั้ง เช้า-เย็น ปริมาณที่ให้แม่พันธุ์ 130-150 กรัม/ตัว/วัน พ่อพันธุ์ 200-250 กรัม/ตัว/วัน อาหารที่ให้ควรมีโปรตีนประมาณ 15-18% เป็ดเทศปีหนึ่งจะไข่ประมาณ 4-5ชุด ชุดละ 15-20 ฟอง สามารถไข่ได้ 2 ปี ลักษณะเป็ดเทศที่จะไข่มีขนสีดำเป็นมัน หน้าแดง ร้อง แม่เป็ดชอบไข่ในที่มืดสงบ จึงควรมีรังไข่บุด้วยฟางหรือวัสดุแห้งๆ จัดไว้ในมุมมืดของเล้าสำหรับแม่เป็ด
การป้องกันโรค
โรคที่สำคัญในเป็ดเทศ ได้แก่ โรคอหิวาต์ และโรคดั๊กเพล็ก จึงต้องมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
- โรคอหิวาต์ ฉีดวัคซีนเมื่อเป็ดอายุ 1-1 เดือนครึ่ง ปีละ 4 ครั้ง โดยฉีดเข้ากล้ามตัวละ 2 ซีซี
- โรคดั๊กเพล็ก ฉีดวัคซีนเมื่อเป็ดอายุ 21 วัน ปีละ 2 ครั้ง โดยฉีดเข้ากล้ามตัวละ 1 ซีซี
http://www.rakbankerd.com/agriculture/wb/photo/1250560334_22171250560334_2217.jpg


การลงทุนเลี้ยงเป็ดไข่

posted on 14 Jan 2013 20:55 by makemoneytoday
การลงทุนเลี้ยงเป็ดไข่


ธำรงศักดิ์ พลบำรุง
นักวิชาการสัตวบาล 8 ว. กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์

                เนื่องจากการเกิดโรคไข้หวัดนกระบาดในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2547 ทำให้สัตว์ปีกของเกษตรกรตายเนื่องจากการติดเชื้ออย่างเฉียบพลันและถูกทำลายเพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดของโรคจำนวนมาก นอกจากนั้นความรุนแรงของโรคที่ติดต่อไปยังคนทำให้มีผู้เสียชีวิตและเจ็บป่วย ขณะเดียวกันเศรษฐกิจของประเทศก็ได้รับผลกระทบเนื่องจากต่างประเทศระงับนำเข้าสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกจากประเทศไทย

                การศึกษาทางระบาดวิทยายืนยันว่า สัตว์ปีกที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะ ไก่พื้นเมือง และเป็ดไล่ทุ่ง เป็นพาหะสำคัญที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก  เห็นได้จากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนกนั้น เป็นพื้นที่ที่มีการเลี้ยงไก่พื้นเมืองและเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งจำนวนมาก



                ขณะนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ได้ตระหนักถึงอันตรายและความสูญเสียที่จะเกิดตามมาหากโรคไข้หวัดนกระบาดขึ้นรอบใหม่ จึงให้ความร่วมมือ กำจัดปัจจัยที่จะโน้มนำให้เกิดโรค รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนระบบการเลี้ยงสัตว์ โดยให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยและการป้องกัน ควบคุมโรคมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกษตรกรต้องคำนึงถึงอีกเรื่องหนึ่งคือ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น หากต้นทุนสูงเกินไป ลงทุนมากเกินไป ก็เกินความสามารถของเกษตรกร เมื่อวิเคราะห์การลงทุนกับผลตอบแทนแล้ว เกษตรกรบางราย อาจปรับเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่น

                การวิเคราะห์ต้นทุนการเลี้ยงเป็ดไข่นี้ ใช้ผลการศึกษาวิจัยตามหลักวิชาการ ประกอบกับการประมาณการแนวโน้มในอนาคต เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงความเป็นจริง สำหรับเกษตรกรใช้ประกอบในการตัดสินใจ และศึกษาความเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนระบบการเลี้ยงเป็ด อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่า ณ วันนี้ วิธีการเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทยจะต้องเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ การเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดจะต้องเลี้ยงในพื้นที่จำกัด มีโรงเรือน มีระบบป้องกันโรค มีการจัดการและการให้อาหารที่ถูกหลักวิชาการมากขึ้น ต้นทุนการผลิตสัตว์ทุกชนิดจะสูงขึ้น ขณะเดียวกัน ราคาผลผลิตจากสัตว์ทุกชนิดก็มีแนวโน้มสูงขึ้น และมีความเท่าเทียมกัน เนื่องจากผู้ผลิตทุกรายจะผลิตภายใต้ระบบเดียวกัน

                การวิเคราะห์ต้นทุนการเลี้ยงเป็ด ใช้ข้อมูลและการประมาณการ ดังต่อไปนี้

                1. ระบบการเลี้ยงเป็ด เป็นการเลี้ยงเป็ดในโรงเรือนชั่วคราวที่ป้องกันโรคและไม่ให้นกเข้าสู่ฟาร์มได้  กรมปศุสัตว์ออกแบบโรงเรือนให้มีอายุการใช้งานได้ประมาณ 6 ปี โรงเรือนสำหรับเลี้ยงเป็ด 3,000 ตัว มีต้นทุนค่าก่อสร้างประมาณ   150,000 บาท ขอรับแบบโรงเรือนได้จากกรมปศุสัตว์ นอกจากนั้นต้องลงทุนก่อสร้าง หรือซื้ออุปกรณ์การเลี้ยงเป็ด เช่น รางน้ำ รางอาหาร ไฟกก วัสดุรองพื้น อุปกรณ์ทำความสะอาด อุปกรณ์ป้องกันโรค ฯลฯ ประมาณ 50,000 บาท มีอายุใช้งานไม่ต่ำกว่า 6 ปี ในรอบการเลี้ยงเป็ด 1 รอบ ในการคำนวณนี้ จึงใช้ระยะเวลา 6 ปี
              

2. พันธุ์และจำนวนเป็ด เลี้ยงเป็ดพันธุ์กากีแคมป์เบล เริ่มเลี้ยงเป็ดอายุ 1 วัน จำนวน 3,000 ตัว ลูกเป็ดไข่เพศเมียอายุ 1 วันราคาตัวละ 15 บาท ตลอดระยะการเลี้ยงเป็ดมีอัตราการตายและการคัดออกเฉลี่ยเดือนละ 2 เปอร์เซ็นต์ เป็ดเริ่มให้ไข่อายุ 5 เดือน (21 สัปดาห์) และมีอายุการไข่ 12 เดือน   ในรอบการผลิต 6 ปี ผลิตไข่ได้รวมทั้งสิ้น 2,222,355 ฟอง คิดเป็นอัตราการไข่ 215 ฟอง/ตัว

                3. การให้อาหาร ใช้อาหารสำเร็จเลี้ยงเป็ดตั้งแต่แรกเกิด มีการเปลี่ยนสูตรและปริมาณอาหารที่ใช้เลี้ยงเป็ดตามอายุ ดังแสดงในตาราง 1  ราคาอาหารลูกเป็ด เป็ดรุ่น และเป็ดไข่ เท่ากับ 12.00 บาท/กิโลกรัม 10.00 บาท/กิโลกรัม และ 8.00 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ

                4. ราคาไข่เป็ด เมื่อนำเป็ดเข้าเลี้ยงระบบฟาร์ม มีการจัดการที่ถูกหลักวิชาการ มีการควบคุม ป้องกันโรค มีระบบการผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ดังนั้น ต้นทุนการผลิตจึงสูงขึ้นโดยมีต้นทุนการผลิตไข่เป็ดเฉลี่ย 3.06 บาท/ฟอง ดังนั้นหากจำหน่ายไข่หน้าฟาร์มได้เฉลี่ย 3.10 บาท/ฟอง จึงจะมีรายได้ตามแผนการผลิตนี้

                5. การจำหน่ายเป็ดปลด การเลี้ยงเป็ดไข่มีกำหนดอายุการไข่ 12 เดือน เป็ดที่อายุไข่เกิน 12 เดือนปลดจำหน่ายรายตัว ราคาตัวละ 40 บาท รายได้สำคัญของฟาร์มจึงเกิดจาก 2 แหล่ง คือ การจำหน่ายไข่เป็ด และจำหน่ายเป็ดปลด

                6. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ  ใช้ข้อมูลจากการสำรวจต้นทุนการเลี้ยงเป็ดระบบฟาร์มของเกษตรกรในปี พ.ศ. 2547 ดังนี้
                                6.1 ค่าเช่าที่ดิน เฉลี่ยปีละ 1,200 บาท
                                6.2 ค่าแรงงานเลี้ยงเป็ด 1 คน อัตราเดือนละ 4,500 บาท (วันละ 150 บาท) ตลอดระยะเวลาเลี้ยงเป็ด ดังนั้น เกษตรกรที่เลี้ยงเป็ดในรอบการเลี้ยง 6 ปี จะได้รับค่าแรงงานรวมทั้งสิ้น 324,000 บาท
                                6.3 ค่าการจัดการ เป็นผลตอบแทนการจัดการธุรกิจของเกษตรกรอัตราเดือนละ 3,000 บาท  ในรอบการเลี้ยงเป็ด 6 ปี เกษตรกรมีรายได้จากการจัดการรวมทั้งสิ้น 216,000 บาท
                                6.4 ค่าเวชภัณฑ์สำหรับการเลี้ยงเป็ดเฉลี่ยปีละ 4,500 บาท
                                6.5 ค่าสาธารณูปโภค สำหรับฟาร์มเป็ดและครอบครัวเกษตรกร เฉลี่ยเดือนละ 1,200 บาท
                                6.6 ค่าขนส่ง และค้าใช้จ่ายอื่นๆ เฉลี่ยปีละ 12,000 บาท และ 10,000 บาท ตามลำดับ
                7. เงินทุนและรายจ่าย  ในการเลี้ยงเป็ดระบบฟาร์ม มีการลงทุนเพิ่มขึ้นทั้งการลงทุนระยะยาว ได้แก่การสร้างโรงเรือน การซื้ออุปกรณ์ และการซื้อพันธุ์เป็ด รวมเป็นเงินประมาณ 245,000 บาท และการลงทุนระยะสั้น ได้แก่ การซื้ออาหาร ซื้อเวชภัณฑ์ ค่าสาธารณูปโภค ค่าขนส่ง เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการลงทุนที่อาจไม่ต้องจ่ายเป็นตัวเงิน หรืออาจจะถือเป็นรายได้สำหรับเกษตรกร ได้แก่ ค่าแรงงาน ค่าการจัดการ ค่าเช่าที่ดิน เป็นต้น สรุปแล้วในปีแรกมีการลงทุนสูงถึง 1,094,281 บาท  ดังนั้นสำหรับ

เกษตรกรที่ไม่มีเงินทุน ควรกู้ยืมเงินเพื่อใช้จ่ายประมาณ 300,000-500,000 บาท เพื่อลงทุนระยะยาว และใช้จ่ายเป็นค่าอาหารเป็ดก่อนการให้ไข่  เมื่อเป็ดเริ่มไข่ก็จะมีรายได้มาหมุนเวียนซื้ออาหาร หากกู้เงินลงทุนโดยมีภาระดอกเบี้ยไม่สูงจะใช้เงินกู้ได้หมดภายในระยะเวลา 3-6 ปี

                8. ผลตอบแทน ในการเลี้ยงเป็ดไข่ระบบฟาร์ม จำนวนเป็ดเริ่มเลี้ยงรุ่นละ 3,000 ตัว ในระยะเวลา 6 ปี เลี้ยงเป็ดได้ 4 รุ่น เกษตรกรมีกำไรจากการประกอบการสุทธิ 351,712 บาท เพียงพอสำหรับสร้างโรงเรือน ซื้ออุปกรณ์ และลงทุนเลี้ยงเป็ดรุ่นใหม่ โดยไม่มีภาระกู้ยืม
โรคเป็ด
โรคเพล็ก 
-  สาเหตุ  เกิดจากเชื้อไวรัส
อาการ  เป็ดจะแสดงอาการขาอ่อน นอนหมอบ ตัวสั่น ต่อมาไม่ช้าจะเกิดอาการอัมพาต เป็ดกระหายน้ำจัด บางทีมีน้ำลาย เหนียว ๆ ไหลออกจากปาก ตาแฉะ จมูกสกปรก หายใจมีเสียงครืดคราด ท้องเดิน อุจจาระสีขาว และจะตายภายใน 24 ชั่วโมง ระยะฟักตัวของโรคตั้งแต่ต้นจนแสดงอาการเหล่านี้ประมาณ 1 สัปดาห์ 
การให้วัคซีนในเป็ด
วัคซีน  duck plague
-  คุณลักษณะของวัคซีน
เป็นวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อไวรัสเชื้อเป็น สเตรนแจนเซ่น สำหรับทำวัคซีนในเป็ด ไม่ทำให้เป็ดเป็นโรค แต่สามารถทำให้เกิดความคุ้มโรคกาฬโรคเป็ดได้เป็นอย่างดี วัคซีนกาฬโรคเป็ด เป็นวัคซีนแห้งบรรจุในขวดสูญญากาศ
- วิธีการใช้และขนาดของวัคซีน
ละลายวัคซีนด้วยน้ำยาละลาย เขย่าให้ละลายให้หมด แล้วใช้ทันที ควรแช่ในน้ำแข็ง และใช้ภายใน 2 ชั่วโมง ห้ามเก็บวัคซีนที่เหลือไว้ใช้ในคราวต่อไป
-  วิธีการฉีด  
       ฉีดวัคซีนเข้าใต้ผิวหนัง (คอ) หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (ที่อก) ตัวละ 0.5 ซีซี ต่อตัว
- โปรแกรมวัคซีน
                ฉีดวัคซีนเมื่อเป็ดอายุได้  21 วัน
- ข้อควรระวัง
                อย่าทำวัคซีนในช่วงเป็ดผลัดขน เพราะจะได้ภูมิคุ้มกันโรคที่ต่ำ
-  การเก็บรักษาวัคซีน
วัคซีนผงแห้งควรเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียล หรือในกระติกน้ำแข็ง


ไพรัชฟาร์ม  2  ได้ดำเนินงานเลี้ยงเป็ดเนื้อพันธุ์บาร์บารี่ ในโรงเรือนแบบเปิด จำนวน 4  หลัง
โดยมีวิธีการเลี้ยงดูลูกเป็ดดังนี้
การเลี้ยงลูกเป็ด 0-2 สัปดาห์
1.   การเตรียมโรงเรือนสำหรับลูกเป็ด 0-2 สัปดาห์
 1.1  การทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ที่ใช้ สำหรับลูกเป็ดระยะแรก โดยการล้างน้ำและนำออกตากแดด การเตรียมกรงกก จะต้องเตรียมล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และเปลี่ยนวัสดุรองพื้นใหม่ทุกครั้งที่นำเป็ดเข้า
1.2  การให้น้ำสะอาด ในระยะแรกที่ลูกเป็ดมาถึงฟาร์ม น้ำที่เตรียมไว้ควรเป็นน้ำสะอาด
1.3  โรงเรือนและอุปกรณ์ ต้องเตรียมไว้ล่วงหน้าได้แก่
                - โรงเรือนที่ใช้กกลูกเป็ด ควรป้องกันลมและฝนได้ พร้อมที่จะต้องป้องกันสัตว์ต่าง ๆ ที่เป็นศัตรูและเป็นพาหนะนำเชื้อโรคมาสู่เป็ด เช่น สุนัข แมว หนู นก ต่าง ๆ
1.4   ลงบันทึกในใบรายงานการเตรียมโรงเรือน
2.  การกกลูกเป็ด
2.1  การกกควรแบ่งลูกเป็ดกรง ๆ ละ 60  ตัว บนกรงกกขนาด  110  130  ซม.  
2.2  แหล่งความร้อนใช้หลอดไฟฟ้า 100  วัตต์ 1  หลอด / ลูกเป็ด 60  ตัว  ในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวัน ให้ใช้แสงธรรมชาติ
 
3.  การให้น้ำและอาหารลูกเป็ด
     ในระยะเวลา 2 วันแรก ควรให้อาหารสำหรับเป็ดแรกเกิด 3 สัปดาห์ ใส่ภาชนะแบนๆ มีขอบเตี้ย ๆ และมีน้ำสะอาดวางให้กิน น้ำควรเป็นน้ำสะอาดปราศจากคลอรีน ภาชนะใส่น้ำควรล้างทำความสะอาดทุก ๆ วัน วันละ 2 ครั้ง
4.  สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อลูกเป็ดมาถึงฟาร์ม
     เมื่อลูกเป็ดมาถึงและนำลูกเป็ดออกวางในกรงกก ควรสำรวจดูความแข็งแรง ถ้าตัวไหนอ่อนแอก็ให้แยกเลี้ยงต่างหาก ทันทีที่ปล่อยลูกเป็ดลงพื้นของกรงกก สิ่งแรกที่ควรสอนลูกเป็ด คือ ให้ลูกเป็ดกินน้ำและต้องให้กินน้ำก่อน 2-3 ชั่วโมง  เมื่อเห็นตัวไหนกินน้ำไม่เป็นควรจะจับปากลูกเป็ดจุ่มลงในน้ำ เพื่อให้ลูกเป็ดเรียนรู้
การเลี้ยงเป็ด 6 สัปดาห์ ขึ้นไป
     เมื่อลูกเป็ดระยะนี้จะเจริญเติบโตเต็มที่โดยเป็ดเพศเมียจะเจริญเติบโตเต็มที่ ช่วงระยะเวลา  8 สัปดาห์ และเป็ดเพศผู้จะเจริญเติบโตเต็มที่ ช่วงระยะเวลา  10  สัปดาห์ การเลี้ยงเป็ดระยะช่วงเวลา 6  สัปดาห์ขึ้นไปนี้มีข้อปฏิบัติดังนี้
1.  การให้อาหาร  จะใช้อาหารที่ใช้สำหรับเลี้ยงดูเป็ดช่วงระยะเวลา 6  สัปดาห์ขึ้นไป การให้อาหารช่วงระยะเวลานี้ต้องหมั่นตรวจสอบความเพียงพอสำหรับเป็ดในกินอาหาร พร้อมทั้งเกลี่ยอาหารให้กระจายสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้เป็ดได้รับอาหารในปริมาณที่เท่า ๆ กัน น้ำหนักเป็ดสม่ำเสมอทั้งฝูงและเป็ดจะได้มีความสมบูรณ์เต็มที่
2.  การให้น้ำ ต้องสะอาด ควรทำความสะอาดรางน้ำถ้ามีตะไคร่น้ำ ควรทำความสะอาดให้เรียบร้อย และหมั่นตรวจสอบดูว่ามีอาหารตกค้างรางน้ำหรือไม่ เพราะจะทำให้น้ำเสียได้ง่าย
3.  หมั่นตรวจสอบรอบ ๆ โรงเรือน    อย่าให้หนู แมว หมา มาบริเวณโรงเรือนเลี้ยงเป็ด